วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รายวิชา การเขียนโปรแกรม

รายวิชา การเขียนโปรแกรม รหัสวิชา ง 32102

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เวลา 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ จำนวน 40 ชั่วโมง / ภาคเรียน

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการแก้ปัญหา โดยใช้ขั้นตอนดังนี้ การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธีการดำเนินการแก้ปัญหาการตรวจสอบและการปรับปรุง การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม และการจัดทำเอกสารประกอบการเขียนโปรแกรม เช่น ซี จาวา ปาสคาล วิชาเบสิค ซีซาร์ป การเขียนโปรแกรมในงานด้านต่างๆ เช่น การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การสร้างชิ้นงาน การสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ง่ายการสร้างและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการต้องอาศัยความรู้ที่เกี่ยวข้องอื่นอีก เช่น กลไกและอิเล็กทรอนิกส์การพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ต้องคำนึงถึง หลักการวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ เบื้องต้นชิ้นงาน ประกอบด้วย ภาพด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน แสดงขนาด และหน่วยวัด เพื่อนำไปสร้างชิ้นงานความคิดสร้างสรรค์มี 4 ลักษณะ ประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคล่องในการคิด และความคิดละเอียดลออ ความคิดริเริ่ม จะเป็นลักษณะความคิด ที่แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิมความคิดแปลกใหม่ที่ได้ต้องไม่ละเมิดความคิดผู้อื่น หลักการทำงานของหุ่นยนต์ อุปกรณ์ในการประกอบหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ การแข่งขันหุ่นยนต์
หน่วยที่ 1
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยที่ 2 โปรแกรมภาษาไม่ยากอย่างที่คิด
หน่วยที่ 3ICT กับผลงานเชิงสร้างสรรค์
หน่วยที่ 4 สนุกสุขสันต์กับหุ่นยนต์